ธรณีพิบัติภัย
ภูเขาไฟ
บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณีและในแผ่นธรณีสามารถพบภูเขาไฟได้ กระบวนการเกิดภูเขาไฟส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
บริเวณวงแหวนไฟ (ring of fire) อยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
การปะทุของภูเขาไฟ ให้ลาวา เถ้าภูเขาไฟ แก๊ส ไอน้ำ ฝุ่น ควัน เศษหินภูเขาไฟ
ความหนืดของแมกมาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการแยกตัวของแก๊ส แมกมาที่มีความหนืดน้อย แก๊สจะก่อตัวเป็นฟองและแยกตัวออกได้ง่าย ส่งผลให้การระเบิดไม่รุนแรง แมกมามีความหนืดมากแก๊สแยกตัวได้ยากทำให้สะสมความดันไว้ในแมกมาทำให้เกิดการระเบิดที่รุนแรง
ตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้ร่องรอยภูเขาไฟ
เขากระโดง จ.บุรีรัมย์
ภูพระอังคาร จ.บุรีรัมย์
เสาหินบะซอลต์ จ.ตราด
แผ่นดินไหว
แผ่นธรณีมีการเคลื่อนที่ทำให้เกิดการเสียดสีหรือชนกันเกิดการสะสมพลังงานในชั้นหิน จนกระทั่งเกิดการแตกหักของชั้นหิน เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหิน มีการปลดปล่อยพลังงานในรูปของคลื่นไหวสะเทือน เกิดเป็นแผ่นดินไหว
ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ตำแหน่งในโลกที่เป็นจุดกำเนิดแผ่นดินไหวและจุดกำเนิดคลื่นไหวสะเทือน
จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ตำแหน่งบนผิวโลกที่ตรงกับตำแหน่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ตำแหน่งในโลกที่เป็นจุดกำเนิดแผ่นดินไหวและจุดกำเนิดคลื่นไหวสะเทือน
จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ตำแหน่งบนผิวโลกที่ตรงกับตำแหน่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้
ขนาดของแผ่นดินไหว วัดได้จากคลื่นไหวสะเทือนถูกบันทึกได้ด้วยเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือน (seismograph) และคำนวณเป็นปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว วัดได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเกิดหรือหลังเกิด เช่น ความรู้สึก ลักษณะของวัตถุ
พื้นที่เสียงแผ่นดินไหว บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณี เช่น แนววงแวนไฟรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
สึนามิ
บริเวณที่มีความลึกมาก สึนามิมีความสูงของคลื่นน้อย ความยาวคลื่นมากและเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสูง
เมื่อสึนามิเคลื่อนที่มายังบริเวณที่ตื้น ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้น ความยาวคลื่นและอัตราเร็วจะลดลงทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่พัดเข้าสู่ชายฝั่ง
ในขณะที่คลื่นสึนามิเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง ระดับน้ำลดลง จากนั้นระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นและพัดเข้าสู่ชายฝั่ง
โดยมหาสมุทรแปซิฟิกมีโอกาสเกิดสึนามิมากที่สุด เพราะมีแนวมุดตัวของแผ่นธรณีหรือที่เรียกว่าวงแหวนไฟทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้
กระบวนการเตือนภัยสึนามิ ประกอบด้วย การตรวจวัดข้อมูล การประมวลผลจากข้อมูล และการประกาศเตือนภัย
กิจกรรม การศึกษาธรณีพิบัติภัย