มลพิษทางน้ำ (water pollution)
มลพิษทางน้ำ (water pollution)
ความหมายของมลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำ หมายถึง สภาวะที่น้ำตามธรรมชาติถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งแปลกปลอมและทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงหรือคุณภาพเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้การใช้ประโยชน์จากน้ำนั้นลดลงหรืออาจใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย
แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ (water pollution sources)
1) แหล่งชุมชน
แหล่งชุมชนและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย นับเป็นบริเวณที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียมากที่สุด น้ำเสียจากชุมชนเกิดจากการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำทิ้งที่มาจากห้องน้ำ น้ำซักผ้า ซักล้าง ปรุงอาหาร ขับถ่าย
2) โรงงานอุตสาหกรรม
สารมลพิษในน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมีลักษณะแตกต่างกันตามประเภทของโรงงาน อุตสาหกรรม เช่น โรงงานกระดาษ โรงงานทำอาหารกระป๋อง โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตแป้งมัน สำปะหลัง และโรงงานผลิตเครื่องดื่ม เป็นต้น
3) เกษตรกรรม
น้ำที่ระบายออกจากบริเวณที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะมีสารประกอบทางเคมีที่ชะล้างมาจากผิวดิน ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และวัตถุที่มีพิษที่ใช้ในการเกษตรกรรม เป็นต้น
4) การทำเหมืองแร่
กิจกรรมเหมืองแร่ส่วนใหญ่ทำให้น้ำมีความขุ่นข้นและอาจมีการปนเปื้อนของแร่ธาตุจำนวนมากจากการเปิดหน้าดินและระเบิดหินแหล่งแร่ ซึ่งเมื่อถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและมนุษย์ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ
6) การก่อสร้าง
การตัดถนน สร้างบ้าน สร้างเขื่อน จำเป็นต้องปรับดินให้เรียบโดยใช้รถไถและบดให้เรียบหรือใช้รถตักดินส่วนหน้าออก สิ่งเหล่านี เป็นตัวการทำให้ดินถูกรบกวนง่ายต่อการพังทลายทำให้เกิดตะกอนในลำธารมากขึ้น
ผลกระทบ
การเน่าเสียของแหล่งน้ำธรรมชาติ
การสะสมสารพิษในผลิตผลทางการเกษตรและสัตว์ที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว
การตกค้างของสารเคมี
ดินรอบบริเวณดังกล่าวเกิดการรบกวนและเกิดการพังทลายได้ง่าย
เกิดการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน
การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางน้ำ (water pollution solutions)
1) ดำเนินการป้องกันและแก้ไขอย่างเป็นระบบทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากต้นน้ำถึงปากแม่น้ำ
2) ควบคุมภาวะมลพิษจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ ได้แก่ ชุมชนและอุตสาหกรรม โดยการ ควบคุมน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐาน
3) กำหนดให้มีการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน โดยต้องสามารถรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของน้ำเสีย
4) ควบคุมการใช้ที่ดินที่ใกล้แหล่งน้ำ ได้แก่ กำหนดแหล่งน้ำดิบเพื่อควบคุมและฟื้นฟูและจัด เขตที่ดินสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ
5) การลดภาวะมลพิษจากแหล่งกำเนิด ได้แก่ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีหรือการผลิตที่ สะอาดและน้ำของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน์
6) ใช้มาตรการให้ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้จ่ายค่าบำบัดโดยการส่งเสริมให้มีการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากชุมชน
7) ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
8) ปรับปรุงกฎหมายและเข้มงวดกับมาตรการที่ให้ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนำ น้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมก่อนปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ
อ้างอิงจาก : http://elearning.psru.ac.th/courses/69/บทที่%204%20ปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf