มลพิษทางดิน (soil pollution)
มลพิษทางดิน (soil pollution)
ความหมายของมลพิษทางดิน
สภาวะการปนเปื้อนของดิน ด้วยสารมลพิษมากเกินขีดจ ากัด จนมีอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ตลอดจนการเจริญเติบโตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั งพืชและสัตว
แหล่งกำเนิดมลพิษทางดิน
มลพิษในดินอาจเกิดจากธรรมชาติหรือกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งต้นเหตุของการเกิดมลพิษทาง ดินอาจมีหลายกรณี ได้แก่
1) เกิดจากหินต้นกำเนิด (parent materials) แร่ประกอบหินบางชนิดเมื่อสลายตัวอาจทำให้ คุณสมบัติของดินเปลี่ยนไป อาจทำให้ดินมีความพิษมากขึ้น เช่น ดินเป็นกรดหรือดินเปรี ยว ดินเค็ม ดินมี สารกัมมันตภาพรังสีและดินมีการปนเปื้อนโลหะหนัก เป็นต้น
2) เกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีในดิน เช่น ดินตะกอน ดินที่มีอินทรีย์วัตถุสะสมมาก และมีน้ำท่วม ขังเสมอ ขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินจะทำให้เกิดสภาพกรดสะสมในดิน ทำให้ดินเป็นกรดได้ เช่น ดินในที่ลุ่มภาคกลาง และดินพลุ เป็นต้น
3) เกิดจากปุ๋ยเคมี ธาตุปุ๋ย หรือธาตุอาหารของพืช โดยปกติจะมีอยู่ในดินเสมอไม่มากก็น้อย ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเกิดผลเสียหายกับดินได้ เช่น ปุ๋ยฟอสฟอรัสจะทำให้ฟอสเฟตในดินตกค้างมาก ปุ๋ยยูเรียจะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น
4) เกิดจากการใช้วัตถุมีพิษทางการเกษตร ในการทำการเกษตรแบบใหม่มีการใช้วัตถุมีพิษเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์อย่างแพร่หลาย
5) การทิ้งของเสียจากระบบโรงงานอุตสาหกรรมและจากชุมชน ได้แก่ น้ำเสีย และขยะมูลฝอย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินเสียได้ด้วย
ผลกระทบจากมลพิษทางดิน
1) ดินเป็นมลสารก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ การฟุ้งกระจายของเม็ดดินในรูปของฝุ่น ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ
2) ดินเป็นมลสารก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ เมื่ออนุภาคดินถูกพัดพาไปสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำลดลง การคมนาคมไม่สะดวก โอกาสการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำลดลง สิ่งมีชีวิตในน้ำอาจมีปัญหาในการดำเนินชีวิตหรือลดปริมาณลง
3) ดินเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและแมลงที่เป็นพาหะ โดยแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและพร้อมที่จะแพร่กระจายสู่ชุมชนได้ถ้าหากมีพาหะนำโรค
4) ดินเป็นพิษเป็นสภาวะที่ดินไม่สามารถทำหน้าที่รองรับของเสียและสารพิษต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์โดยวิธีการดูดซับไว้ที่อนุภาคของดิน ปัญหาติดตามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตามมามีทั้งปัญหาทางตรงและปัญหาทางอ้อม
การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางดิน (soil pollution solutions)
1) การใช้ที่ดินในการเกษตรกรรม ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและควรบำรุงรักษาดินด้วยวิธีการทางธรรมชาติ
2) ไม่ควรตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความเสียหายกับดินได้
3) การใช้ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์เพื่อลดและทำลายศัตรูของพืชและสัตว์ในพื้นที่ทำ การเกษตรนั้นไม่สามารถป้องกันและกำจัดได้อย่างถาวรตลอดไป แต่เป็นการป้องกันเพียงชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นการใช้ยากำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธี ควรใช้ในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม
4) ขยะมูลฝอยจากชุมชนเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลทำให้เกิดมลพิษทางดิน จึงควรใช้วิธีกำจัดอย่างถูกต้อง โดยควรมีการแยกประเภทขยะเพื่อง่ายต่อการเก็บและนำไปกำจัดให้ถูกวิธี
อ้างอิงจาก : http://elearning.psru.ac.th/courses/69/บทที่%204%20ปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
: http://elearning.psru.ac.th/courses/69/บทที่%204%20ปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf