มลพิษทางอากาศ (air pollution)
มลพิษทางอากาศ (air pollution)
มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะของอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่มากพอ และเป็น ระยะเวลานานพอที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อชีวอนามัยของมนุษย์ สัตว์พืช และวัสดุต่าง ๆ
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ (air pollution sources)
1) แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ
1.1) ภูเขาไฟระเบิด การเกิดภูเขาไฟระเบิดจะมีควันและเถ้าจากการเผาไหม้พ่นออกมาใน บรรยากาศจำนวนมาก นอกจากนี มักจะปล่อยสารมลพิษ ได้แก่ ฟลูม หรือ แก๊สต่างๆ
1.2) ไฟป่า มักเกิดขึ้นในฤดูร้อนซึ่งอากาศในบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงและการเสียดสีของ ต้นไม้ใบหญ้าที่อยู่ในป่าทำให้เกิดการลุกไหม้เป็นไฟขึ้น สารมลพิษที่อาจปล่อยออกมาจากการเกิดไฟไหม้ ป่า ได้แก่ ควัน เถ้า หรือแก๊สต่างๆ
1.3) จุลินทรีย์ พวกจุลินทรีย์จะมีการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ ทำให้เกิดแก๊ส เช่น แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นต้น เป็นแก๊สที่ทำในเกิดกลิ่นเหม็น
1.4) การฟุ้งกระจายของดิน เมล็ดพืช สปอร์หรือละอองเรณูของพืชมีดอก
2) แหล่งกำเนิดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
2.1) การคมนาคมขนส่ง เกิดจากพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เรือยนต์ ปล่อยสารมลพิษที่สำคัญออกมา ได้แก่ เขม่า ควัน ฝุ่นละออง คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
2.2) โรงงานอุตสาหกรรม จัดเป็นแหล่งสำคัญมากที่ปล่อยสารพิษออกสู่อากาศ ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมถลุงโลหะ เป็นต้น โดยในกระบวนการผลิตจะมีการปล่อยสารพิษออกมา เช่น ฝุ่นละออง เขม่าควัน ไอกรด ไอของสารประกอบตะกั่ว ออกไซด์ของกำมะถัน ออกไซด์ของไนโตรเจน และออกไซด์ของคาร์บอน เป็นต้น
2.3) กิจกรรมด้านการเกษตร เช่น การเผาเศษเหลือใช้ทางการเกษตร ที่ท าให้เกิดฟุ้ง กระจายของควันและเศษเถ้าจากการเผาในอากาศเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง เป็นการปลดปล่อยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศเป็นจำนวนมาก การฉีดพ่นสารปราบศัตรูพืชและแมลงทำให้ละอองสารพิษ ลอยไปตามกระแสลมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่สัมผัสหรือสูดดมเข้าไป เป็นต้น
2.4) กิจกรรมกำจัดขยะมูลฝอย เมืองที่ไม่มีการกำจัดของเสียอย่างถูกหลักสุขาภิบาลหรือ ตรงตามมาตรฐานจะทำให้แก๊สมลพิษจากกองขยะ หรือเกิดจากการเผาขยะมูลฝอย ซึ่งก่อให้เกิดสารมลพิษ ทางอากาศที่สำคัญ เช่น เขม่า ควัน ฝุ่นละออง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของกำมะถัน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้น
2.5) กิจกรรมการก่อสร้าง อาคารสถานที่ ถนน ทางคมนาคม การถมดิน การผสมปูน และการทาสี เป็นต้น ทำให้เกิดฝุ่นละอองสีที่มีพวกโลหะหนัก เช่น เหล็ก สังกะสี และตะกั่ว เป็นต้น หรือน้ำมัน ระเหย เช่น เบนซิน และแลกเกอร์ เป็นต้น
ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางอากาศ (air pollution effects)
1) เกิดภาวะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก (global warming) ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการเกิด ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) เกิดจากแก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas)
2) ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วมรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งเกิดจากการที่อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น
3) ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง เมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ น พื นที่ป่าไม้จะลดลง สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัว ไม่ได้จะตายและสูญพันธุ์ไป ดินจะพังทลายและเสื่อมโทรมมากขึ้น ภัยธรรมชาติจะมีแนวโน้มรุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น
4) ผลกระทบต่อพืช สิ่งนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายต่อพืช เช่น โอโซนจะทำอันตรายต่อเซลล์ทุกชนิดของใบ
5) ผลกระทบต่อสัตว์ สัตว์จะได้รับสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่ด้วยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือโดยการที่สัตว์ไปกินหญ้าหรือพืชอื่น ๆ ที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ด้วยปริมาณมากพอที่จะเกิดอันตรายได้
การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ (air pollution solutions)
1) ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ใช้เครื่องยนต์ที่มีมลพิษน้อย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ
2) เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบการปล่อยมลสารต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และให้มีการติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจจับสารมลพิษทางอากาศจากโรงงาน
3) สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรมาใช้เป็นพลังงาน เพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในที่โล่ง
4) ปรับปรุงระบบการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้มีการบริหารจัดการแบบครบวงจร ถูกหลัก วิชาการ เพื่อลดการเผาขยะในที่โล่ง
5) ป้องกันการเกิดไฟป่า ตรวจติดตามปฏิบัติการดับไฟป่า และฟื้นฟูสภาพหลังเกิดไฟป่า
6) ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มาจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดภาวะมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน
อ้างอิงจาก : http://elearning.psru.ac.th/courses/69/บทที่%204%20ปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf