การลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา
การลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา
ชั้นหินมีการวางตัวในแนวนอน มีการสะสมตัวซ้อนทับกันเป็นลำดับจากชั้นล่างขั้นไปหาชั้นบนตามลำดับการเกิด ดังนั้น ชั้นหินวางตัวอยู่ด้านบนจะมีอายุน้อยกว่าชั้นหินที่วางตัวอยู่ด้านล่าง
(หนังสือเรียนฯ สสวท, 2563)
การพิจารณาอายุเปรียบเทียบ
อายุอ่อนสุด
ก
จ
ข
ค
ง
อายุแก่สุด
เหตุผล
ชั้น ง เป็นหินตะกอนที่มีการสะสมตัวก่อนจึงมีอายุแก่ที่สุดและถูกปิดทับด้วยชั้นหินตะกอน ค และ ข จากนั้นมีการแทรกตัวของหิน จ ซึ่งเป็นผนังหินอัคนี ต่อมาเกิดการกร่อนจนได้พ้นราบอีกครั้งก่อนมจะมีการสมสมตัวของชั้นหิน ก ชั้นหิน ก จึงมีอายุอ่อนที่สุด
แบบฝึกหัด
อายุสัมบูรณ์
อายุสัมบูรณ์ เป็นการบอกอายุของหิน แร่และซากดึกดำบรรพ์ ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน
หินบางชนิด เช่น หินแกรนิต มีแร่ประกอบหินที่มีธาตุกัมมันตรังสีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งธาตุกัมมันตรังสีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งธาตุกัมมันตรังสีมีนิวเคลียสไม่เสถียรเกิดการสลายได้เป็นธาตุใหม่ที่เสถียรกว่า ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงหาอายุสัมบูรณ์โดยการคำนวณหาระยะเวลาที่ธาตุกัมมันตรังสีในหินเกิดการสลายตัวจากครึ่งชีวิต (Half life) ของธาตุกัมมันตรังสีที่อยู่ในหิน