การเทียบสัมพันธ์ข้อมูลทางธรณีวิทยา สามารถพิจารณาได้จาก ชนิดหิน อายุหิน ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี ลำดับชั้นหินของแต่ละพื้นที่ หากพิจารณาแล้วข้อมูลมีความสัมพันธ์กัน ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า พื้นที่ทั้ง 3 แห่ง เกิดในช่วงเวลาเดียวกันภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน
ตัวอย่าง การพิจารณาลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา
สถานการณ์
นักธรณีวิทยาได้สำรวจพื้นที่ 2 แห่ง คือ พื้นที่ ก และ ข ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร ตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดหินและลำดับชั้นหิน ดังรูป และพบว่าพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง มีชั้นหินปูนอายุประมาณ 250 ล้านปี ชั้นหินทรายแป้งอายุประมาณ 150 ล้านปี
จากข้อมูลข้างต้น
พื้นที่ทั้ง 2 แห่งมีลำดับชั้นหินเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ เหมือนกัน เพราะ มีลำดับชั้นหินปูน หินดินดาน หินทรายแป้งและหินทราย เรียงลำดับจากด้านล่างไปด้านบนเหมือนกัน
จากข้อมูลทั้ง 2 พื้นที่ หินดินดานและหินทรายมีช่วงอายุประมาณเท่าใด ทราบได้อย่างไร
แนวคำตอบ หินดินดานมีช่วงอายุระหว่าง 250 - 150 ล้านปี เพราะวางตัวเหนือหินปูนซึ่งมีอายุ 250 ล้านปี และมีชั้นหินทรายแป้งอายุ 150 ปี ปิดทับอยู่หินทรายอายุน้อยกว่า 150 ล้านปี เพราะหินทรายวางตัวปิดทับอยู่บนชั้นหินทรายแป้งซึ่งมีอายุ 150 ล้านปี
พื้นที่ทั้ง 2 แห่ง มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ มีความสัมพันธ์กัน เพราะมีชนิดหิน อายุของหินและมีลำดับชั้นหินเหมือนกัน
แบบฝึกหัด
ช่วงเวลากับวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตามเวลาแต่ละช่วงตั้งแต่โลกเริ่มเริ่มกำเนิดจนถึงปัจจุบัน และนำมาจัดเรียงลำดับเป็น "มาตราธรณีกาล" แบ่งออกเป็น บรมยุค (หน่วยเวลาในมาตราธรณีกาลที่ใหญ่ที่สุด) มหายุค และ สมัย
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก เป็นช่วงที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกมากที่สุด สามารถแบ่งออกเป็น 3 มหายุค ได้แก่ พาลีโอโซอิก มีโซโซอิกและซีโนโซอิก